มาตรฐานรองเท้านิรภัยหรือรองเท้าเซฟตี้ (Safety Shoes)

กฎหมายและข้อบังคับมาตรฐานรองเท้านิรภัยหรือรองเท้าเซฟตี้ (Safety Shoes)

กฎหมาย ข้อบังคับ รวมไปถึงมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานของทุกประเทศทั่วโลก จะกำหนดให้มีการสวมใส่รองเท้านิรภัยหรือรองเท้า safety ขณะปฏิบัติงานในพื้นที่หรือบริเวณที่มีแนวโน้มที่คนงานจะได้รับบาดเจ็บที่เท้า ทั้งวัสดุกลิ้งหรือหล่นทับ สะดุดหรือเตะวัตถุต่างๆ เหยียบโลหะ แหลมคม ถูกไฟฟ้าดูดหรือช็อต ฯลฯ ตัวอย่างเช่น กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานของประเทศสหรัฐอเมริกามีด้วยกัน 3 ส่วน ได้แก่

1) OSHA 1910.132 (d): Hazard assessment within your plant environment: ข้อบังคับในการประเมินอันตรายภายในโรงงาน

2) OSHA 1910.136: Occupational foot protection, general requirements: ข้อบังคับ ทั่วไปในการป้องกันเท้าขณะปฏิบัติงาน

3) OSHA 1910.132 (f) a, iv, v: Employee training and fitting for protective footwear compliance: ข้อบังคับในการฝึกอบรมและความกระชับในการสวมใส่รองเท้านิรภัย

รองเท้า safety มาตรฐานอเมริกัน ชนิดของรองเท้านิรภัยตามที่กำหนดไว้ ในมาตรฐาน ASTM F2413-11: Standard Specification for Performance Requirements for Foot Protection ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2011 จนถึงปัจจุบัน (เลข 11 ต่อท้ายชื่อมาตรฐานคือ ปี ค.ศ. ที่ประกาศใช้) แบ่งตามคุณสมบัติเชิง ป้องกันเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ 1) รองเท้านิรภัยพื้นฐาน หรือเรียกว่า “รองเท้าหัวเหล็ก” (Toe Cap) สำหรับใช้ใน งานภาคอุตสาหกรรมทั่วไป มีคุณสมบัติป้องกันการกระแทก การบีบ และแรงกดบนหลังเท้า 2) รองเท้านิรภัยสำหรับป้องกันเฉพาะด้าน อาทิเช่น ป้องกันกระแสไฟฟ้า ป้องกันไฟฟ้าสถิต ป้องกันแทงทะลุพื้นรองเท้า ฯลฯ รองเท้านิรภัยพื้นฐานหรือรองเท้าหัวเหล็ก (หรือวัสดุสังเคราะห์ที่คุณสมบัติเท่าเทียมหรือ สูงกว่า) อย่างน้อยต้องมีคุณสมบัติ 3 ด้านในคู่เดียวกันเป็นไปตามมาตรฐานกำหนดคือ

  • ความสามารถในการต้านทานแรง กระแทก (Impact) มี 2 ระดับ : 75 ฟุต-ปอนด์ (101.7 จูล) และ 50 ฟุต-ปอนด์ (67.8 จูล) รหัสที่ใช้ C ตามด้วย 75 หรือ 50 สำหรับระบุ ระดับความสามารถต้านทานแรงกระแทก
  • ความสามารถในการต้านทานแรงบีบ (Compression) มี 2 ระดับ : 75 (2,500 ปอนด์ หรือ11,000 นิวตัน และ 50 (1,750 ปอนด์ หรือ 7,800 นิวตัน) รหัสที่ใช้ C ตามด้วยตัวเลข 75 หรือ 50 สำหรับระบุระดับความสามารถ ต้านทานแรงบีบ
  • ความสามารถในการป้องกันกระดูก หลังเท้า (Metatarsal) มี 2 ระดับ : 75 ฟุตปอนด์ (101.7 จูล) และ 50 ฟุต-ปอนด์ (67.8 จูล) รหัสที่ใช้ Mt ตามด้วย 75 หรือ 50 สำหรับ ระบุระดับความสามารถต้านทานแรงกระแทก ที่กระดูกหลังเท้า

นั่นคือ รองเท้า safety ที่ได้รับมาตรฐาน ASTM F2413-11 (แทน ANSI Z41 ที่ถูกยกเลิก ไปแล้วตั้งแต่ปี 2005) หนึ่งคู่ อย่างน้อยที่สุดต้องผ่านการทดสอบคุณสมบัติ 3 ด้านดังกล่าวข้างต้นตามมาตรฐานสำหรับการทดสอบโดยเฉพาะ (ASTM F2412 Standard Test Methods for Foot Protection) โดยมีรหัสกำกับบนตัวรองเท้า ซึ่งมองเห็นได้อย่างชัดเจนไม่ว่าจะด้วยการพิมพ์ ประทับตรา ติดแถบ ฯลฯ เป็นอักษรโรมันตาม ด้วยตัวเลข ตัวอย่างเช่น M I/75/C/75/Mt75 อธิบายได้ว่า เป็นรองเท้าสำหรับผู้ชาย (Male) ต้านทานแรงกระแทก (Impact) 75 ฟุต-ปอนด์ (101.7 จูล) ต้านทานแรงบีบ (Compression) ที่ 75 (2,500 ปอนด์ หรือ11,000 นิวตัน) และ ป้องกันที่กระดูกหลังเท้า (Metatarsal) ได้ที่แรงกระแทก 75 ฟุต-ปอนด์ (101.7 จูล) ทั้งนี้ หาก เป็นรองเท้าสำหรับผู้หญิง (Female) มีคุณสมบัติ เดียวกันจะใช้รหัส F I/75/C/75/Mt75 รองเท้าที่มีคุณสมบัติพื้นฐาน 3 ด้าน คือ I/C/Mt จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 คือ รองเท้าที่เรียกกัน ทั่วไปว่า “รองเท้าหัวเหล็ก” (Toe Cap) สำหรับใช้ในงานภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง และอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติป้องกันการกระแทก การบีบ และ การหล่นทับหลังเท้า ถือเป็น “ภาคบังคับ” หาก “สอบผ่าน” การทดสอบตามมาตรฐานกำหนด จะได้รับการรับรองให้เป็นรองเท้านิรภัยสามารถป้องกันเท้าจากอันตรายขั้นพื้นฐานที่มีอยู่เป็น ส่วนใหญ่ในโรงงานและสถานประกอบการทั่วไป

 

มาตรฐานรองเท้า safety ของสหภาพยุโรป

ชนิดรองเท้า safety ตามมาตรฐานยุโรป EN ISO 20345: 2011 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ เดือนมิถุนายน 2013 แก้ไขเพิ่มเติม จากมาตรฐานฉบับเดิม EN ISO 20345: 2004 มีรายละเอียดโดยสังเขปดังนี้

  • รองเท้าเซฟตี้หัวเหล็ก (Steel Toe) แบ่งออกเป็น 2 Class แต่ละ Class มี รองเท้าชนิดต่างๆ (ตามรหัส) อยู่ในกลุ่ม
    • Class I รองเท้าทำจากหนังและวัสดุอื่น แต่ไม่ได้ทำจากยางธรรมชาติหรือวัสดุสังเคราะห์ โพลีเมอร์ มีชนิดรองเท้าอยู่ในกลุ่มดังต่อไปนี้
      • SB หมายถึง รองเท้าหัวเหล็กพื้นฐาน รับแรงกระแทกได้ 200 จูล และรับแรงบีบได้ 15,000 นิวตัน
      • S1 หมายถึง รองเท้าหัวเหล็กรับแรง กระแทกได้ 200 จูล สามารถดูดซับแรงกดที่เท้า ขณะเคลื่อนไหว และต้านทานประจุไฟฟ้าสถิต
      • S2 หมายถึง รองเท้าหัวเหล็กรับแรง กระแทกได้ 200 จูล สามารถดูดซับแรงกดที่เท้า ขณะเคลื่อนไหว ต้านทานประจุไฟฟ้าสถิต และมี คุณสมบัติกันน้ำ (ป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้าหรือ ทำให้รองเท้าเสื่อมสภาพในลักษณะใดๆ ก็ตาม)
      • S3 หมายถึง รองเท้าหัวเหล็กรับแรง กระแทกได้ 200 จูล และสามารถดูดซับแรงกด ที่เท้าขณะเคลื่อนไหว ต้านทานประจุไฟฟ้าสถิต มีคุณสมบัติกันน้ำ (ป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้าหรือทำให้รองเท้าเสื่อมสภาพในลักษณะใดๆ ก็ตาม) พื้นรองเท้าต้านทานการเจาะทะลุและพื้นรองเท้า ด้านนอกเป็นชนิดมีปุ่ม (Cleated outsole)
    • Class II เป็นรองเท้าทำจากยางธรรมชาติ หรือวัสดุสังเคราะห์โพลีเมอร์ มีชนิดรองเท้าจัด อยู่ในกลุ่ม ได้แก่
      • SB หมายถึง รองเท้าหัวเหล็กพื้นฐาน รับ แรงกระแทกได้ 200 จูล และรับแรงบีบได้ 15,000 นิวตัน
      • S4 หมายถึง รองเท้าพื้นเหล็กพื้นฐาน (SB) เสริมส่วนดูดซับแรงกดที่เท้าและต้านทาน ประจุไฟฟ้าสถิต
      • S5 หมายถึง รองเท้า S4 เสริมพื้นชนิด ต้านทานแรงเจาะทะลุและพื้นด้านนอกสุดเป็นชนิดมีปุ่ม (Cleated outsole)

en-345-safety-shoes-standard

 

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Safetylife Magazine, หัวข้อ: กฎเหล็กเลือกรองเท้านิรภัย
  2. OSHA 132 (d): Hazard assessment within your plant environment.
  3. OSHA 136: Occupational foot protection, general requirements.
  4. OSHA 132 (f) a, iv, v: Employee training and fitting for protective footwear.
  5. ASTM F2413-11 Standard   Specification for Performance Requirements for Foot Protection.
  6. ISO 20345:2011 Personal protective equipment-Safety footwear.
  7. Foot Safety Basics: A 10-Point Checklist; EHS Today, June 17,
  8. Proper Foot Protection Made Simple: Consider these important factors for safety and comfort By Roger Huard, Occupational Health & Safety; April 01,