ประเภทของอุปกรณ์ป้องกันดวงตา (Eye Protection)

อุปกรณ์ป้องกันดวงตา สามารถแบ่งตามประเภทการใช้งานได้ ดังนี้

1.แว่นครอบตา
แว่นครอบตา อาจแบ่งย่อยออกไปอีก ตามลักษณะของการใช้งาน ได้ดังนี้:

1.1
แว่นครอบตาสำหรับใช้กับงานเจียร์ (IMPACT GOGGLE):

%e0%b9%81%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%95%e0%b8%b2 โดยปกติทั้งตัวกรอบแว่นและเลนส์ทำด้วยพลาสติกใส ลักษณะของแว่นครอบตาชนิดนี้จะมีรูพรุนเล็กๆ เป็นจำนวนมากอยู่โดยรอบกรอบแว่น (เพื่อระบายความร้อนที่ออกจากผู้ใช้ไปสู่ภายนอกในขณะปฏิบัติงาน เลนส์ของแว่นจะมีลักษณะเป็นแผ่นเดียวกันตลอด ไม่แยกจากกัน มีความหนาโดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 0.04 นิ้ว สำหรับป้องกันฝุ่นหรือเศษของวัสดุที่เจียร์ เช่น หิน เหล็ก พลาสติก ไฟเบอร์กลาส ฯลฯ

 

1.2 แว่นครอบตาสำหรับใช้กับงานเจียร์ และป้องกันสารเคมี (CHEMICAL & IMPACT GOGGLE):

 แว่นครอบตาชนิดนี้เป็นที่นิยมใช้กันมากกว่าชนิดแรก เพราะสามารถใช้งานได้มากกว่า กล่าวคือ ใช้%e0%b9%81%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%9b%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%84สำหรับป้องกันสารเคมีกระเด็นและเศษหรือฝุ่นจากงานเจียร์ปลิวเข้าตา ลักษณะโดยทั่วไปของแว่นครอบตาชนิดนี้คล้ายกับชนิดแรก จะต่างกันก็เพียงการระบายความร้อนออกสู่ภายนอกแว่นเท่านั้น กล่าวคือแว่นครอบตาชนิดนี้จะใช้ลิ้นระบาย (EXHAUST VALVE) ระบายความร้อนออกสู่ภายนอกแว่นแทน ซึ่งโดยมากจะมีอยู่ด้วยกัน 4-6 ลิ้นรอบกรอบแว่น ส่วนเลนส์จะเป็นชนิดเดียวกันกับชนิดแรก

 

1.3 แว่นครอบตาสำหรับใช้ป้องกันสารเคมี ควันและงานเจียร์ (CHEMICAL SPLASH GOGGLE):

 แว่นครอบตาชนิดนี้ จะมีลักษณะแตกต่างออกไปจากแว่นทั้งสองชนิดที่กล่าวมาแล้ว ตัวกรอบแว่นจะมี%e0%b9%81%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%b3%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b9%83%e0%b8%8a%e0%b9%89%e0%b8%9b%e0%b9%89%e0%b8%adลักษณะกว้างและโค้งแนบกับใบหน้าได้ดีกว่า และไม่มีลิ้นรูระบายความร้อน เลนส์จะมีลักษณะโค้งไปตามกรอบแว่น เนื่องจากแว่นชนิดนี้ไม่มีรูระบายความร้อน แต่ใช้ระบบการระบายความร้อนออกจากตัวแว่น ด้วยวิธีไหลผ่านจากเลนส์สู่กรอบแว่นสู่ภายนอกแทน (INDIRECT VENT) ดังนั้นแว่นชนิดนี้จึงเหมาะสำหรับใช้กันควัน สารเคมีและบริเวณที่มีฝุ่น หรือเศษของชิ้นงานจากงานเจียร์จำนวนมากได้ดีกว่าชนิดที่ 1 หรือ 2

 

1.4 แว่นครอบตาสำหรับเชื่อม (WELDING GOGGLE):

กล่าวคือ จะใช้ลิ้นระบายความร้อนออกจากแว่นเหมือนกัน จะต่างกันก็เพียงเลนส์ที่ใช้มักจะเป็นชนิดเลนส์แยกทำด้วยแก้วชุบแข็ง (HARDEN GLASS) มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ

1.4.1 ชนิดเลนส์ติดตายกับตัวกรอบแว่น (FIXED LENS WELDING GOGGLE): แว่นเชื่อมชนิดนี้จะมีเลนส์ติดตายอยู่ที่ตัวกรอบแว่น มีข้อดีคือ อายุการใช้งานยาวนาน ข้อเสียคือ ไม่สะดวกต่อผู้ปฏิบัติงานมากนัก เวลาจะเคาะรอยตะเข็บเชื่อมต้องถอดแว่นออก%e0%b9%81%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%b3%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a1
1.4.2 ชนิดเลนส์ปิดเปิดได้ (FLIP-UP WELDING GOGGLE): แว่นเชื่อมชนิดนี้จะมีเลนส์ขึ้นลง ปิดเปิด ข้อดีและข้อเสียจะตรงกันข้ามกับชนิดแรก ปัจจุบันแว่นเชื่อมชนิดนี้เป็นที่นิยมใช้กันมากกว่าชนิดแรก

%e0%b9%81%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%95%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%b3%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a1

2.แว่นตานิรภัย (SAFETY GLASSES)

ลักษณะของแว่นตานิรภัย จะมีลักษณะ คล้ายคลึงกับแว่นสายตา หรือ แว่นแฟชั่นโดยทั่วๆไป ต่างกันเพียงเลนส์ที่ใช้และมีกระบังข้างตรงกรอบแว่นตาเพิ่มขึ้นเท่านั้น

safety-glasses-2 safety-glasses

จุดประสงค์ของการใช้แว่นตานิรภัย: แว่นตานิรภัยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้สวมใส่ สามารถป้องกันนัยน์ตาจากงานต่างๆ ดังนี้
     1.
งานกลึง
     2.
งานประกอบชิ้นส่วน (รถยนต์ ฯลฯ)
     3.
งานเชื่อมโดยวิธียิงด้วยไฟฟ้า
     4.
งานในห้องแล็ป
     5.
งานหล่อโลหะ